รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี ได้คัดเลือกมานำเสนอล้วนได้รับการพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้วและมีผู้นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป แต่เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการศึกษาและการนำไปใช้ จึงได้จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้
******1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain)
******2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย(affective domain)
******3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย(psycho-motor domain)
******4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ(process skill)
******5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ(integration)
แต่จากกการวิจัยเรื่องการสังเคราะห์แนวคิดและวิธีการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยประชากรที่ใช้ในการสังเคราะห์เป็นผลงานทางการศึกษา วิทยานิพนธ์ บทความและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่พิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2535-2548 รวมทั้งตำราที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 32 เล่ม ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain) รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ(process skill) และรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ(integration) ซึ่งจะนำเสนอรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยในครั้งนี้เท่านั้น โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
3.5.1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระต่าง ๆ ซึ่งเนื้อหาสาระนั้นอาจอยู่ในรูปของข้อมูล ข้อเท็จจริง มโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอด รูปแบบที่คัดเลือกมานำเสนอในที่นี้มี 5 รูปแบบ ดังนี้
****** 1.1**รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์
****** 1.2**รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย
****** 1.3**รูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า
****** 1.4**รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำ
****** 1.5**รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก